ย้อนดู “ปัญหาเด็กเกิดน้อย” ฟังเสียงวงเสวนาสวัสดิการถ้วนหน้าทำได้หรือไม่ admin, April 3, 2024 หลังจากนายแพทย์ชลน่านศรีแก้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เปิดถึงปัญหาเด็กเกิดน้อยต่อสภาฯ ทำให้เกิดข้อถกเถียงทางสังคมว่าที่จริงแล้ว“ปัญหาเด็กเกิดน้อยเป็นเรื่องของเขาเป็นเรื่องของเราหรือเรื่องของใครกันแน่และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่บิดเบี้ยวทางสังคมหรือไม่” คำถามเหล่านี้ถูกยกมาพูดคุยในเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ“เมื่อไทยเข้าสู่สังคมเด็กเกิดน้อยปัญหาและทางออก”ในวันนี้ณหอประชุมศุทรีย์แก้วเจริญชั้น3อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้นำญี่ปุ่นชี้ต้องเร่งแก้วิกฤตเกิดต่ำ หวั่นสังคมล่มสลาย ประวัติ “ชลน่าน ศรีแก้ว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ “หมอสุภัทร” ยินดี “หมอชลน่าน” นั่งเก้าอี้ รมว.สาธารณสุขคนใหม่ ทีมข่าวนิวมีเดียพีพีทีวีจึงได้รวบรวมใจความสำคัญของเวทีนี้มาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนกันคำพูดจาก ว็บสล็อตต่างประเทศ ทำไมต้องผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ หากดูสถิติของประเทศนายแพทย์ประทีปธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติบอกว่าจะเห็นปัญหาเด็กเกิดน้อยยังคงลดลงมาอย่างต่อเนื่องแม้จะมีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อแก้ไขเรื่องนี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาตั้งแต่แผนฯฉบับที่8พ.ศ.2545แล้วก็ตาม จนในปีพ.ศ. 2564ประเทศไทยมีอัตราการตายมากกว่าเกิดเป็นครั้งแรกถือเป็นจุดวิดฤติในสังคมเพราะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานสภาพแวดล้อมทางสังคมเศรษฐกิจและด้านการศึกษาเป็นลูกโซ่ต่อกันไปอย่างเห็นได้ชัด ปัญหาเด็กเกิดน้อยเป็นปัญหาที่ซับซ้อนมีหลายประเทศที่พยายามทำแต่ทางสำเร็จดูไม่ใช่เรื่องง่ายการผลักดันในเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนไปได้อย่างดีที่สุด ปัญหาที่เราพูดคุยกันในวันนี้จึงไม่ใช่การเปลี่ยนค่านิยมให้มีลูกสะทีเดียวแต่เป็นการมองว่าถ้ามีลูกแล้วจะทำให้ระบบอื่นๆเอื้อต่อการมีลูกได้อย่างไรเพื่อให้ความพร้อมของพวกเขามีมากขึ้น ปัญหาเด็กแรกเกิดมีอะไรมากกว่าที่คิด ด้านนางสาววรวรรณพลิคามินรองเลขาธิการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติบอกอีกว่าปัญหาเด็กแรกเกิดไม่ใช่แค่สัดส่วนประชากรของผู้สูงอายุจะมากขึ้นสวนทางกับอัตราการเกิดของเด็กเท่านั้น ยังมีปัญหาเรื่องของคุณแม่วัยใสการตายของเด็กแรกเกิดและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรยังสูงด้วยนอกจากนี้ยังมีบางส่วนอีกที่เกิดมาก็ยากจนสะแล้ว แต่การมีประชากรน้อยใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสียทั้งหมดสิ่งเหล่านี้อาจสร้างโอกาสที่จะนำงบประมาณที่เหลือจากสัดส่วนเด็กที่น้อยลงนำไปสนับสนุนส่วนอื่นที่พัฒนาให้ดีขึ้นได้ ฉะนั้นการพัฒนาประชากรให้เพิ่มอาจต้องดูความพร้อมโดยรวมของทั้งประเทศด้วย ย้อนดูผลกระทบด้าน“แรงงาน-เศรษฐกิจ-สังคม-การศึกษา” ทำไมปัญหาเด็กแรกเกิดถึงสร้างผลกระทบไปเป็นลูกโซ่ แน่นอนว่าเมื่อเด็กเกิดน้อยลงสัดส่วดแรงงานภายในประเทศย่อมลดทำให้เราอาจต้องเผชิญกับภาวะรายได้ของประเทศที่ลดลงและภาระการคลังที่เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อเด็กเกิดน้อยในด้านภาคการศึกษานักเรียนก็ลดลงเช่นเดียวกันไม่เพียงเท่านั้นในปัจจุบันยังมีเรื่องว่าเขาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองหรือปัญหาความยากจนความเหลื่อมล้ำอีกที่ทำให้เด็กในภาคการศึกษาน้อย หากเปรียบว่าในครอบครัวหนึ่งมีลูก2คนเมื่อถึงวัยอันควรที่พ่อแม่จากไปและลูกต้องเข้ามาแทนที่การมีลูก2คนถือว่าไม่ขาดทุน แต่ถ้าในครอบครัวไม่มีลูกเลย เมื่อไร้คนจะมาทดแทนต่อให้หาแรงงานต่างชาติเข้ามาหรือสนับสนุนการให้ชาวต่างชาติมาคลอดบุตรที่นี่แล้วให้สัญชาติไทยสุดท้ายเราก็อาจต้องเผชิญปัญหาเรื่องชาติพันธุ์อีก-นายแพทย์โอฬาริกมุสิทวงศ์ผู้อำนวยการกองมารดาและทารกกระทรวงสาธารณสุข ทางออกของ“ปัญหาเด็กแรกเกิด” ถ้าเราแบ่งกลุ่มคนออกเป็น3กลุ่มคือ 1.)กลุ่มที่ไม่ต้องการมีลูกกลุ่มนี้อาจไม่ต้องทำอะไรเพราะไม่ต้องการมีลูก 2.)กลุ่มอยากมีลูกแต่ป่วยเป็นภาวะมีบุตรยากกลุ่มนี้อาจจะต้องทำแคมเปญเบิกจ่ายค่ารักษาซึ่งตอนนี้อยู่ในกระทวนการหาค่าคุ้มค่าคุ้มทุนอยู่ 3.)กลุ่มก้ำกึ่งคิดว่าอยากมีลูกหรือไม่มีดีกลุ่มนี้ให้ช่วย“เรื่องเงินเวลาและคน”เช่นอาจมีเงินอุดหนุนขอเยอะกว่านี้หน่อยเอาให้จูงใจสุดๆไปเลยเพราะเงินอุดหนุนบุตร600บาทอาจไม่เพียงพอ ช่วยเรื่องเวลาคือวันลาให้ลาได้6เดือน1ปีหรืออย่างที่ประเทศสวีเดนให้ลาได้ปีครึ่ง(ปัจจุบันให้ลาคลอดบุตรได้90วัน)หรือให้เข้าครึ่งวันให้เงินครึ่งเดียวเพราะบางทีเขาไม่ได้ต้องการเงินแต่เขาต้องการมีคุณค่าในบทบาทหน้าที่การทำงานเป็นต้น อนาคตอาจมีเทคโนโลยีช่วยกลุ่มLGBTQIAN+มีลูกได้ ส่วนเทคโนโลยีเจริญพันธุ์สำหรับกลุ่มLGBTQIAN+ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ไปดูงานมาแล้วพบว่าลักษณะครอบครัวมี27รูปแบบตอนนี้ตัวเทคโนโลยีไม่มีปัญหาเพราะแพทย์สามารถทำได้หมดแต่ติดเรื่องของกฎหมายซึ่งตอนนี้ต้องจับตามองต่อไปว่ารัฐบาลชุดใหม่จะขับเคลื่อนอย่างไรต่อไปแต่ที่ผ่านมาก็มีสัญญาณที่ดีอย่างทางกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ก็พยายามปรับตัวกฎหมายสมรสเท่าเทียมให้เราได้เห็น “เงินอุดหนุนบุตร”จะจ่ายแบบถ้วนหน้าได้หรือไม่ ส่วนการ“การจ่ายเงินอุดหนุนบุตร”จะเป็นการจ่ายแบบถ้วนหน้าได้หรือไม่เพราะตอนนี้ยังเป็นการจ่ายให้เพียงครอบครัวที่มีรายได้น้อยเท่านั้น เรื่องนี้นางอภิญญาชมภูมาศอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตอบว่าทางเราเองก็อยากทำให้เป็นรัฐสวัสดิการเพียงแต่ตอนนี้ยังต้องมีการปรึกษาศึกษากันอย่างถี่ถ้วนเพราะรายรับและรายจ่ายของประเทศยังไม่ได้ไปด้วยกัน “พัฒนาเด็กให้มีคุณภาพ”คือโจทย์หลักในตอนนี้ ด้านดร.สัมพันธ์ศิลปนาฏประธานกรรมการการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่17-18พ.ศ.2567-2568มองว่าทางออกที่ดีที่สุดตอนนี้คือการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน วิจัยเพื่อค้นหาทางออกที่ดีที่สุดอย่างที่มีข้อสงสัยว่าทำไมที่สิงคโปร์ส่งเสริมเรื่องการเพิ่มเด็กแรกเกิดแต่ไม่สำเร็จหรือบางประเทศแทบไม่ต้องใช้เงินแต่สามารถเพิ่มสัดส่วนประชากรได้ตรงนี้ต้องค้นหาคำตอบด้วยการวิจัยที่ครอบคลุมทุกความซับซ้อนทางสังคม แต่ปัจจัยสำคัญที่อยากให้มุ่งเน้นตอนนี้คือการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพมีผลวิจัยหลายประเทศที่เขามีประชากรน้อยกว่าเราแต่เขาก็ยังสามารถขับเคลื่อนประเทศไปได้ดี ดังนั้นแม้ปริมาณจะน้อยแต่มีประชากรที่มีคุณภาพอย่างไรก็เพียงพอให้เรายังสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน ภาพจาก : Freepik Games News เน็ตทรูล่ม วันนี้ 2565 สูตรหวยยี่กี lottovip ตัวเดียว